วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์ของอำเภอสันกำแพง

 ข้าพเจ้าค้นหาตำบลที่อยู่ในอ.สันกำแพงในwikiแต่ไม่มีข้อมูลว่าสันกำแพงประกอบด้วยตำบลอะไรบ้าง เว็บของอำเภอข้างบนก็บอกแต่เพียงว่ามีกี่ตำบลแต่ไม่บอกรายละเีอียดชื่อของแต่ละตำบลข้าพเจ้าค้นหาสักพักจึงพบในเว็บไซต์หนึ่งชื่อเว็บตำบลดอทคอม ซึ่งมีข้อมูลละเอียดมากกว่าทั้งยังมีข้อมูลทั้งหมดคือรายละเอียดของหมู่บ้านด้วย จึงขอบคุณมาณ ณ ที่นี้ด้วย

501301 - ตำบลสันกำแพง  
501302 - ตำบลทรายมูล  
501303 - ตำบลร้องวัวแดง  
501304 - ตำบลบวกค้าง  
501305 - ตำบลแช่ช้าง  
501306 - ตำบลออนใต้  
501310 - ตำบลแม่ปูคา  
501311 - ตำบลห้วยทราย  
501312 - ตำบลต้นเปา  
501313 - ตำบลสันกลาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสันกำแพง
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอสันกำแพง
ทิวทัศน์ขึ้นชื่อ เลื่องลือคนงาม
เขตคามโคนม ชื่นชมหัตถกรรม
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอสันกำแพง
อักษรโรมัน Amphoe San Kamphaeng
จังหวัด เชียงใหม่
รหัสทางภูมิศาสตร์ 5013
รหัสไปรษณีย์ 50130
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 197.833 ตร.กม.
ประชากร 76,611 คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 387.25 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอสันกำแพง เลขที่ 92
หมู่ที่ ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130
พิกัด 18°44′43″N, 99°7′13″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 5333 2412
หมายเลขโทรสาร 0 5333 2412

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
อำเภอสันกำแพง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ที่ขึ้นชื่อได้แก่ บ้านบ่อสร้าง เป็นแหล่งรวมหัตถกรรมการทำร่มกระดาษสา น้ำพุร้อนสันกำแพง ตลอดเส้นทางจากตัวอำเภอเมืองไป ยังอำเภอสันกำแพงจะรายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างทาง นอกจากจะเป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายแล้ว อำเภอสันกำแพงยังเป็นบ้านเกิดของอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย ทักษิณ ชินวัตร อีกด้วย

ประวัติ

จากหลักฐานศิลาจารึกที่ต้นพบ ณ วัดเชียงแสน ตำบลออนใต้ สันนิษฐานกันว่าชาวอำเภอสันกำแพงอพยพมาจากพันนาภูเลาแขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) มาตั้งอยู่ริมน้ำแม่ออน โดยในสมัยพระเจ้าศิริลัทธัมมังกร มหาจักพรรดิราชธิราช ได้เสวยราชเป็นกษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ ได้โปรดให้ราชมนตรีนายหนึ่งชื่อ เจ้าอภิชวฌาณบวรสิทธิ เป็นหมื่นดาบเรือนได้มีจิตศรัทธาชักชวนบรรดาทายกทายิกาทั้งหลายมาประชุมกัน เพื่อสร้างวิหารพระเจดีย์และหอพระไตรปิฎก เมื่อสร้างเสร็จแล้วขนานนามวัดที่สร้างขึ้นว่า "สาลกิจญาณหันตาราม" วัดนี้ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า "วัดเชียงแสน" นอกจากนั้น ชาวบ้านในหลายท้องถิ่นของอำเภอเป็นไทยยองและไทยลื้อ สำเนียงพูดของชาวบ้านในอำเภอเชียงแสน ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า "แขวงแม่ออน" อยู่ในการปกครองของนครเชียงใหม่ ถึง พ.ศ. 2445 ในรัชสมัยของพระเจ้าอินทวโรรสครองนครเชียงใหม่เกิดกบฏเงี้ยวขึ้นที่อำเภอเมืองแพร่ ที่แขวงแม่ออนมีชาวเงี้ยว 11 คน มีอาวุธครบได้ทำการบุกปล้นโรงกลั่นสุราที่บ้านป่าไผ่ ตำบลแช่ช้าง แล้วทำการเผาที่ทำการแม่ออนเสียหายทั้งหลัง แล้วได้หนีไปทางอำเภอดอยสะเก็ด ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ย้ายที่ทำการแขวงแม่ออนมาปลูกสร้างที่บ้านสันกำแพง จึงได้ชื่อว่า "อำเภอสันกำแพง" มาจนถึงทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2537 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่บางส่วนของอำเภอสันกำแพงยกฐานะเป็น "กิ่งอำเภอแม่ออน"

ภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มกว้าง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 196.69 ตารางกิโลเมตร มีลำน้ำที่สำคัญ ลำน้ำแม่ออน ลำน้ำแม่ปูคา ลำน้ำแม่กวง เป็นแหล่งน้ำสำคัญ

ประชากร

จำนวนประชากรทั้งหมด 73,269 คน แยกได้เป็นชาย 35,394 คน หญิง 37,875 คน

การคมนาคม

เส้นทางคมนาคม อำเภอสันกำแพงติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่โดยทางรถยนต์ถนนสายเชียงใหม่ - สันกำแพง ระยะทาง 13 กม.

ผลผลิตทางการเกษตร

ได้แก่ ข้าว ยาสูบ ถั่วลิสง ลำไย ไม้ดอก กระเทียม

การประมง

ได้แก่ การเลี้ยงปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปลายี่สก

ประเพณี

ประเพณีสงกรานต์ 
ประเพณีสงกรานต์ในอำเภอสันกำแพง วันที่ 13 เมษายน ถือว่าเป็นวันสงกรานต์ชาวล้านนาเรียกว่า เป็นวันสังขารล่อง วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนาว์ ชาวล้านนาเรียกเพี้ยนเป็น "วันเนา" วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก เรียกว่า "วันพญาวัน" ซึ่งถือว่าเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชเป็นปีใหม่และเปลี่ยนพุทธศักราชด้วย ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการทำบุญ สรงน้ำพระ และการรดน้ำดำหัว เช่นเดียวกัน
ประเพณีการกิ๋นก๋วยสลากหรือทานข้าวสลาก 
เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานแล้ว การทานสลากจะเริ่มในราววันเพ็ญเดือนสิบสอง และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ ก่อนวันทำพิธีทานสลากภัตต์ 1 วัน เรียกว่า "วันดา" คือเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเครื่องไทยทาน พวกผู้ชายจะจักตอกสานก๋วย (ตระกร้า) ไว้หลาย ๆ ใบ แล้วแต่ศรัทธาและทรัพย์จะอำนวยให้ทางฝ่ายผู้หญิงก็จะจัดเตรียมห่อของกระจุก กระจิก เช่น ข้าวสาร กระเทียม เกลือ กะปิ ขนม อาหาร (ห่อนึ่ง) ชิ้นปิ้ง (เนื้อย่าง) เนื้อเค็ม หมาก ไม้ขีดไฟ เทียนไข สีย้อมผ้า ผลไม้ เครื่องใช้สอยต่าย ๆ ตามแต่ศรัทธาและฐานะ เหล่านี้บรรจุลงในก๋วย ซึ่งกรุด้วยใบตองหรือกระดาษสีต่าง ๆ เมื่อบรรจุเรียบร้อย "ยอด" คือธนบัตรผูกติดไม้เรียวยอดนี้ไม่จำกัดจำนวน วันรุ่งขึ้นเป็นวันทานสลาก ก็จะให้เด็กนำ "ก๋วยสลาก" ไปวางเรียงไว้เป็นแถว ๆ เวลามีการ "เส้นสลาก" (ส้นสลากทำด้วยใบลานหรือกระดาษตัดแผ่นยาว ๆ จารึกชื่อเจ้าของไว้และ บอกว่าอุทิศส่วนกุศลให้ใครบ้าง เส้นสลากนี้จะต้องเขียนให้ครบจำนวนก๋วยสลาก เมื่อชาวบ้านจะนำเอาก๋วยสลากไปที่วัด นำเอาเส้นสลากไปรวมกันที่หน้าพระประธานในวิหาร ผู้รวบรวมเส้นสลากมักจะเป็นมรรคนายกรวบรวมได้เท่าไรเอาจำนวนพระภิกษุสามาเณร ที่นิมนตร์จากหัววัดต่าง ๆ หารจำนวนเส้นสลากเหลือไว้ส่วนเป็นของพระเจ้ามาแบ่งให้แก่พระภิกษุสามเณร และเด็ก "เส้นสลาก" ที่แบ่งปันให้แก่พระภิกษุ สามเณรที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ นั้น เส้นสลากแล้วก็จะแยกย้ายไปยึดสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในบริเวณวัดและจัดการออก สลาก การอ่านเส้นสลากดัง ๆ เมื่อมีผู้ได้ยินหรือเพื่อนบ้านใกล้ ๆ ได้ยินก็จะไปบอกเจ้าของก๋วยสลาก เมื่อพบเส้นสลากก็จะถวาย "ก๋วยสลาก" พระก็จะกล่าวอนุโมทนาให้พร และคืนเส้นสลากให้เจ้าของไป
ลอยกระทง , ตามประทีป 
เป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาแต่โบราณกาล โดยก่อนที่จะถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองใต้ (เดือนยี่เป็งเป็นของภาคเหนือ) พวกชาวบ้านจะจัดการปัดกวาดแผ้วถางบ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อยประดับด้วยธง ทิวจัดเปลี่ยนดอกไม้บนหิ้งบูชาพระจัดเทียนประทีปและเทียนไว้สำหรับจุดบูชา พระ ประตูบ้านก็จะนำต้นกล้วยต้นอ้อยทางมะพร้าวหรือไม้อื่นมาประดิษฐ์ทำเป็นซุ้ม ประตูให้สวยงาม แล้วแต่จะคิดทำเป็นที่สะดุดตาคน เมื่อประดับประดาด้วยดอกไม้เรียบร้อยแล้วก็จะหาโคมญี่ปุ่นหรือประทีปมา เตรียมไว้ เพื่อจะใช้จุดไฟให้สว่างในวันยี่เป็งตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญต่าง ๆ จะจัดตกแต่งสถานที่ให้สวยงามเป็นพิเศษ ที่ซุ้มประตูของวัดจะตกแต่งด้วยดอกไม้ และโคมไฟที่สวยงาม รอบ ๆ พระเจดีย์จะจุดบูชาด้วยเทียนหรือตามประทีปไว้รอบ ๆ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ทุกวัดจะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าพอสายหน่อยจะมีการฟังเทศน์ พระธรรมถึงผู้เทศน์จะต้องมีเคล็ดในการเทศน์การเทศน์ให้ประชาชนฟังอย่างได้ เนื้อหาทางศีลธรรมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งชาวบ้านนิยมให้พระท่านเทศน์ในกัณฑ์มัทรี ชูชก (หรือเมืองเหนีอเรียกว่าตุ๊จก) กัณฑ์กุมาร มหาราชแห่งนครกัณฑ์ บางวัด จะจัดให้มีการเทศน์จนครบ 13 กัณฑ์ นอกจากการทำบุญฟังเทศน์แล้วจะมีการปล่อยโคมลอย ซึ่งตามประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาจุฬามณีบนสวรรค์ ในตอนกลางคืนจะมีการจุดไปตามประทีปโคมไฟตามวัด และตามบ้านทั่ว ๆ ไป การลอยกระทง จะมีการลอยกระทงถึงสองวัน คือในวันยี่เป็งนั้นชาวบ้านจะนำกระทงเล็กที่จัดทำขึ้นด้วยใบตองกาบกล้วยใบ และกลีบดอกพลับพลึง ไปลอยในแม่น้ำปิง กระทงใหญ่ที่จัดทำเป็นรูปต่าง ๆ ตกแต่งอย่างสวยงามและมีการประกวดพร้อมกับขบวนแห่นั้นจะทำในวันแรม 1 ค่ำ
งานปอยหลวง 
การทำบุญฉลองอย่างใหญ่โต เช่น เมื่อสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม กำแพง สิ่งปลูกสร้างภายในวัด เมืม่อสร้างเสร็จจะทำบุญอุทิศถวายทาน งานปอยหลวงจะจัดทำตั้งแต่เดือน 5, 6, 7, 8 เหนือ (ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม) งานปอยหลวงนี้ จะมีการแห่เครื่องไทยทานจากหัววัดต่าง ๆ ไปร่วม เรียกว่า "แห่ครัวทาน" ขยวนแห่ครัวทานจะมีช่างฟ้อนสาวรูปร่างสวยงาม แต่งกายแบบพื้นเมือง เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน นำหน้าครัวทาน ติดตามด้วยคณะครัวทานของแต่ละวัด ส่วนมากการแห่ครัวทานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. ไปจนถึง 22.00 น. ตอนกลางคือน วัดที่เป็นเจ้าภาพจะจัดให้ม ลิเก ภาพยนตร์ การละเล่นต่าง ๆ บนเวที มีการเลี้ยงน้ำเย็น เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแห่ครัวทานตามแบบเมืองเหนือประกอบด้วย กลองยาว ฆ้อมแน (ปี่) ฉว่า (ฉาบ) กลองตะหลดป๊ด (กลองเล็กใช้ตีขัดจังหวัด เวลาจะได้ยิน ตุ๊ก ๆ ) เวลาบรรเลงจะได้ยินเสียงดังตึ่งโน..ต๊กตุ่งต๊กโนง.. จึงเรียกว่า "กลองตึ่งโนง" นอกจากนี้ มีกลองเทิ้ง บ่อง กลองเงี้ยว กลองสะบัดชัย ตามแต่ทางวัดจะหาได้ ฆ้องกลอง จะมีทุกวัด และยังมีกลองใหญ่เรียกว่า "กลองปูจา" ใช้ตีในเวลาที่พระลงทำวัตรเช้า เวลาที่มีการเทศน์ ก่อนวันปอย 1 วัน จะมีการเตรียมของเรียกว่า "วันดา" (วันสุกดิบ) ในวันนี้คณะศรัทธาจะนำของมารวมกันเรียกว่า "ฮอมครัว) และในวันแรกของงานปอยจะมีการทานธงแบบต่าง ๆ ซึ่งทางเหนือเรียกว่า "ตุง" และจ้อ" (ช่อ) ตุงยาวและจ้อจ๊าง (ช่อช้าง) นำมาผูกติดกับเสาไม้ไฝ่ปักไว้สองข้าวทาง ที่จะเข้าสู่วัดที่จัดให้มีการทำบุญปอยหลวงไว้เป็นสัญลักษณ์ด้วย ตอนเย็นวันเดียวกันมีการนิมนต์พระเถระอุปคุตมาไว้ที่หออุปคุต หอนี้มีแบบศาลเพียงตามีเสี่อผืนหมอนใบ น้ำต้น (คนโทใส่น้ำ) ขันดอกไม้ธูปเทียนและก้อนหิน ที่เอามาจากแม่น้ำ ซึ่งสมมุติว่าเป็นองค์อุปคุต การนิมนต์พระอุปคุตมาไว้ที่หอเพราะมีความเชื่อว่า ท่านสามารถคุ้มครองงานให้ปลอดภัยปราศจากเหตุร้าย
ปอยน้อยหรือปอยบวชลูกแก้ว 
ลูกแก้ว ทางภาคเหนือเรียกว่า "บวชพระ" คือการอุปสมบท หากเป็นผู้มีฐานะดีและบริเวณ มีการสร้างผาม (ประจำ) ขึ้นกลางบ้านบ้างก็จะมีซอให้ผู้มา "ฮอมครัว) บางแห่งจะมีภาพยนตร์กลางแปลงให้ชมอีกด้วย
แอ่วพระอุ้ม 
จะมีการทำบุญปอยน้อยนี้ เจ้าภาพจะต้องเตรียมอัฐบริขาร เช่น มุ้ง บาต พัด ผ้าสบง จีวร เตียงน้อน ผ้าห่ม ฯลฯจากนั้นก็จะพิมพ์ใบบอกบุญแผ่กุศล แจกจ่ายไปตามบ้านญาติสนิทมิตรสหายแทนการบอกบุญสมัยก่อนโดยการ "แอ่วผ้าอุ้ม"
วันดา 
การจัดงานปอยบวชนี้มีสองวัน วันแรกเป็นวันดา (วันสุกดิบ) ในวันนี้เจ้าภาพจะจัดสถานที่เสร็จแล้วจะนำเครื่องอัฐบริขารของพระบวชใหม่ไป ตั้งไว้โดยจะมีผู้เฒ่าผู้แก่นั่งคอยต้อนรับอยู่และเป็นผู้ให้พรแก่ผู้ที่มา ฮอมครัว ซึ่งในวันนี้จะมีญาตพี่น้องเอาสิ่งของหรือเครื่องเงินซองมาร่วมทำบุญ ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันบวชตามพิธีสงฆ์ แต่ในปัจจุบันการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมักจะแต่งดาในตอนเช้าและทำพิธีบวช ในวันแต่งดานี้นอกจากจะเตรียมเครื่องไทยทานไว้ถวายพระที่นิมนต์มาร่วมในพิธี บวช ผู้บวชจะต้องโกนผมนุ่งขาวห่มขาว ในวันรุ่งขึ้นจะมีการแห่นาคจากบ้านไปวัดเรียกว่า "แห่ลูกแก้ว"
การแห่ลูกแก้ว 
การแห่ลูกแก้วของทางภาคเหนือจะแต่งตัวเป็นกษัตริย์ทรงม้า มีการแห่ "ลูกแก้ว" จากบ้านไปวัด เมื่อไปถึงวัดก็จะมีการ "ฮ้องขวัญลูกแก้ว" คือมีการเรียกขวัญนาคนั้นเองโดยมีอาจารย์ที่มีลีลาการเรียกขวัญอย่างไพเราะ เพราะพริ้งกินใจเป็นทำนองเมืองเหนือ ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนทำพิธีเรียกขวัญแล้วพระสงฆ์จะทำพิธีบวชเป็นสามเณรหรืออุปสมบทเป็นพระภิกษู สมปรารถนา
ปอยเข้าสังฆ์ 
เป็นการทำบุญให้กับผู้ที่ตายด้ยการคลอดบุตรโดยนิมนตร์พระมาสวดมนต์ฟัง เทศน์ที่บ้าน สิ่งของที่ถวายพระจะมีเรือนเล็กทางภาคเหนือเรียกว่า "ห่อผ้า" ภายในเรือนเล็กจะมีเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การครองชีพของมนุษย์ ส่วนมากจะเป็นสิ่งของที่ผู้ตายเคยใช้และชอบใช้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ เมื่อวัดการถวายทานแล้วมีความเชื่อว่าจะสามารถนำวิญญาณของผู้ตายพ้นจากห้วย กรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอสันกำแพงอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอสันกำแพงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 100 หมู่บ้าน ได้แก่
  1. สันกำแพง (San Kamphaeng) 14 หมู่บ้าน
  2. ทรายมูล (Sai Mun) 7 หมู่บ้าน
  3. ร้องวัวแดง (Rong Wua Daeng) 11 หมู่บ้าน
  4. บวกค้าง (Buak Khang) 13 หมู่บ้าน
  5. แช่ช้าง (Chae Chang) 9 หมู่บ้าน
  6. ออนใต้ (On Tai) 11 หมู่บ้าน
  7. แม่ปูคา (Mae Pu Kha) 9 หมู่บ้าน
  8. ห้วยทราย (Huai Sai) 8 หมู่บ้าน
  9. ต้นเปา (Ton Pao) 10 หมู่บ้าน
  10. สันกลาง (San Klang) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอสันกำแพงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลเมืองต้นเปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้นเปาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสันกำแพง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสันกำแพง ตำบลทรายมูลทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลแช่ช้าง
  • เทศบาลตำบลแม่ปูคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ปูคาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบวกค้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบวกค้างทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลออนใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลออนใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสันกำแพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันกำแพง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสันกำแพง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลร้องวัวแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร้องวัวแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแช่ช้าง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสันกำแพง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันกลางทั้งตำบล

โรงเรียนในอำเภอสันกำแพง

โรงเรียนสพฐ.มัธยม โรงเรียนสันกำแพง (โรงเรียนประจำอำเภอสันกำแพง) www.skpschool.net

ชาวสันกำแพงที่มีชื่อเสียง